วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ โทรทัศน์ครู และงานวิจัย



บทความ

เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรักกิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว
พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัยโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ในการอบรมครั้งนี้ ครูได้พบตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน
นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ ?
การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง
เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง
นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาส เด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้




งานวิจัย

เนื่องจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์แนวใหม่ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช พุทธศักราช ๒๕๔๖ ซึ่งการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์แนวใหม่จะเน้นการจัดกิจกรรมให้เด็กได้สังเกต สำรวจ สืบค้น แก้ปัญหา เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖  เป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาเด็กโดยองค์รวมเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข จึงมีความจำเป็นในการปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้เรียนสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการวางรากฐานในการปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์และเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้งสมรรถนะของครูยุคใหม่ต้องทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ผู้เรียนจึงต้องมีการศึกษาค้นคว้าหางานวิจัยใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์ใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย



โทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครูเรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย

จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"
     เสียง เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลางพลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหูและส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง 
     แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทำให้ได้ยินเสียงดังมากกว่าเสียงที่มีพลังงานน้อย 
     เสียง เป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ
     เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม แต่ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่าจะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมากเสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อยจะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล
คำถามที่ครูใช้ถามเด็ก
1.เสียงเกิดจากอะไร 
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง 
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร 
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร
กิจกรรม
1.ครูและนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร 
2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น 
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลาคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลาคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้าแล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น 
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน) 
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย ) 
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็นเสียงดนตรี
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง 
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.คำถามชวนคิด
2.ขวดถั่วเขียว 
3.เกลือ 
4.ยางรัดของ 
5.ตะปู 
6.ส้อมเสียง 
7.ขวดใส่น้า 
8.แก้วทรงสูง 
9.อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 
10.โทรศัพท์กระป๋อง
11.แบบฝึกหัด 



สัปดาห์ที่ 16 วันที่ 2 ธันวาคม 2557





บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.20 น  กลุ่ม 103





กิจกรรมวันนี้
 

       วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนของภาคเรียนนี้ วันนี้เพื่อนๆๆที่ยังติดค้างการนำเสนอบทความ กับ โทรศัทน์ครู ได้ออกมานำเสนอจนครบทุกคน แล้วอาจารย์ได้สรุปองค์ความรู้ทั้งหมดของรายวิชานี้ ว่าเรียนมาได้อะไรบ้าง กิจกรรมที่ทำในห้องเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมากน้อยเพียงใด
อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบ และ ปิดท้ายด้วยการทำแผ่นผับเกี่ยวกับ แผนที่กลุ่มแต่ล่ะกลุ่มทำ กลุ่มของดิฉันได้ หน่าวย กล้วย
                        





แนวการสอนของอาจารย์

- อาจารย์ช่วยเสริมจากแผนที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอให้ตัวแทน
ในกลุ่มจดบันทึกรายละเอียดที่อาจารย์ได้บอกเพื่อมาปรับปรุงในในการสอนจริง


ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน
-ได้ทำกิจกรรม ได้ลงมือปฏิบิติจริง


ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆๆช่วยกันตอบคำถาม ร่วมกันทำกิจกรรมและตั้งใจฟังอาจารย์สอน


ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีเทคนิคทุกครั้งที่เข้าสอน



   

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่15 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.20 น  กลุ่ม 103


กิจกรรมวันนี้  

  อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนส่งสื่อของเล่นวิทยาศาสร์ แล้วแยกหมวดหมูว่าของเล่นแต่ละชิ้นที่นักศึกษาที่ทำมานั่นอยู่ในหมวดหมู่อะไรบ้าง เช่น พลังงานอากาศ พลังงานลม พลังงานน้ำ และอื่นๆๆ


กิจกกรรมที่2 วันนี้ คือ น้ำแดงสดชื่น 











แนวการสอนของอาจารย์

- อาจารย์ช่วยเสริมจากแผนที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอให้ตัวแทน
ในกลุ่มจดบันทึกรายละเอียดที่อาจารย์ได้บอกเพื่อมาปรับปรุงในในการสอนจิง


ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน
-ได้ทำกิจกรรม ได้ลงมือปฏิบิติจริง


ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆๆช่วยกันตอบคำถาม และตั้งใจฟังอาจารย์สอน


ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีเทคนิคทุกครั้งที่เข้าสอน

สัปดาห์ที่ 14 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.20 น  กลุ่ม 103


กจิกรรมวันนี้  อาจารย์ให้ทำขนม วอฟเฟอ










ขั้นตอน
- ผสมแป้งให้เข้ากับน้ำโดยเป็นเนื้อเดี่ยวกัน
- เมื่อแป้งเข้ากันต๊อกไข่ลงแล้วตีไข่ให้เข้ากับแป้ง
-พักแป้งไว้  เตรียมเครื่องทำวอฟเฟอเปิดสวิตไฟให้เครื่องร้อน
- เมื่อเครื่องร้อนทาเนยให้ทั่วแล้วเท่แป้งลง ปิดฝาไว้รอสัก 3-5 นาทีแล้วเปิดฝาดูว่าสุกหรือยัง
- เมื่อสุก นำมาจัดใสจาน พร้อมเสริฟ ^^


ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน
-ได้ทำกิจกรรม ได้ลงมือปฏิบิติจริง


ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆๆช่วยกันตอบคำถาม และตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีเทคนิคทุกครั้งที่เข้าสอน

สัปดาห์ที่ 13 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.20 น  กลุ่ม 103

วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มเพื่อนที่ยังไม่นำเสนอมานำเสนอ ดังนี้ หน่วยสัปรด หน่วยน้ำ หน่วยดิน หน่วยมด
หน่วยส้ม






กิจกรรมที่2 ทำไข่ทาโกยากิ




แนวการสอนของอาจารย์

- อาจารย์ช่วยเสริมจากแผนที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอให้ตัวแทน
ในกลุ่มจดบันทึกรายละเอียดที่อาจารย์ได้บอกเพื่อมาปรับปรุงในในการสอนจิง


ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน
-ได้ทำกิจกรรม ได้ลงมือปฏิบิติจริง


ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆๆช่วยกันตอบคำถาม และตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีเทคนิคทุกครั้งที่เข้าสอน


วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่12 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.20 น  กลุ่ม 103



วันนี้อาจารย์ให้นางสาวนิติยา ใยคง เป็นตัวแทนรวบรวม "วิจัยและโทรศันท์ครู"
ส่วนเพื่อนๆๆที่ยังไม่ได้อ่านบทความอาจารย์ให้เปลี่ยนเป็นนำเสนอโทรศันท์ครูแทน
หลังจากนำเสนอเสร็จ แก้ไขแผนการสอนให้ถูกต้องและสมบูรณ์
และนำเสนอแผนการสอนของแต่ล่ะกลุ่ม
-หน่วยกล้วย
-หน่วยทุเรียน
-หน่วยส้ม
-หน่วยสัปรด
-หน่วยกบ
-หน่วยดิน
-หน่วยน้ำ








แนวการสอนของอาจารย์

- อาจารย์ช่วยเสริมจากแผนที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอให้ตัวแทน
ในกลุ่มจดบันทึกรายละเอียดที่อาจารย์ได้บอกเพื่อมาปรับปรุงในในการสอนจิง


ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน
-ได้ทำกิจกรรม ได้ลงมือปฏิบิติจริง


ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆๆช่วยกันตอบคำถาม และตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีเทคนิคทุกครั้งที่เข้าสอน

สัปดาห์ที่11 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.20 น  กลุ่ม 103


วันนี้ทุกกลุ่มออกมาสอนตามแผนที่ได้รับมอบหมายวันนี่้เริ่มที่หน่วยแรก
หน่วยข้าว :ทำข้าวชาบูชิ







 หน่วยที่2  หน่วย ไข่ ไข่เจียวหรรษา



แนวการสอนของอาจารย์

- อาจารย์อยากให้ทุกกลุ่มเตรียมพร้อมให้มากก่าวนี้ เพราะวันนี้อาจารย์ยังไม่พอใจในเทคนิค
การสอน วันนี้นำเสนอเพียง2 กลุ่มเท่านั่น อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลื่อไปเตรียมตัวมาใหม่ สัปดาห์หน้า
ค่อยออกมาสอนแผนที่เหลือ อาจารย์ให้เทคนิคเพื่อเติมให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากเดิมให้นักศึกษาคิดต่อยอด
จากประสบการณ์เดิม

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน


ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆๆช่วยกันตอบคำถาม และตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีเทคนิคทุกครั้งที่เข้าสอน